[ประชาสัมพันธ์] การประชุมเครือข่ายปรัชญาสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1

ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานหรือเสนอบทความในงานประชุมวิชาการ “เครือข่ายปรัชญาสังคมศาสตร์ไทย ครั้งที่ 1” ระหว่างวันที่ 22-24 มิถุนายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เปิดรับบทความถึงวันที่ 30 เมษายน 2566 สำหรับผู้ที่สนใจส่งบทความในภาษาไทย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ การประชุมเครือข่ายปรัชญาสังคมศาสตร์

 

CfP: 26th Annual Meeting of the PARST

Papers are being called for the upcoming 26th Annual Meeting of the Philosophy and Religion Society of Thailand (PARST), from December 16 – 18, 2022 at Chulalongkorn University. The time zone of the Meeting will be Bangkok time zone, which is 7 hours ahead of GMT in winter.

Papers on any topics in philosophy or religious studies are welcome. However, the advertised theme of this year’s Annual Meeting is “Political Philosophy”.

Papers should be between 10- 15 pages and must be submitted to us on or before November 15, 2021. The reference style is APA. Notification to authors will be sent by November 30.

Papers can be submitted either in English or Thai. We will separate English-speaking and Thai-speaking paper presenters in separate rooms or sessions.

We will hold the conference both in online and onsite formats. Those whose papers are accepted but cannot travel to the Chula campus are encouraged to present their papers online instead.

Those whose papers are selected for presentation will be invited to submit a revised version for possible inclusion in the Journal of the PARST after the Meeting.

Registration Fees

International presenters (attending online from outside of Thailand): 30 US Dollars
Domestic presenters: 1,200 Baht (Non-members), and 1,000 Baht (Members)
Online participants only: 500 Baht

Important Dates

Deadline for submitting a paper – November 15, 2022
Notification of acceptance/rejection – November 30, 2022
26th Annual Meeting – December 16 – 18, 2022

Venue

Sasa International House, Chulalongkorn University

Please send your papers to Dr. Theptawee Chokvasin, Executive Member of the PARST, at dr.theptawee AT yahoo.com.

Questions about everything related to the organization of the conference can be directed to Dr. Jerd Bandasak, at jerdonly AT gmail.com.

การสอบแข่งขันคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยไปร่วมแข่งขันโอลิมปิกปรัชญา ประจำปี พ.ศ. 2566

ประกาศสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย

การสอบแข่งขันคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยไปร่วมแข่งขันโอลิมปิกปรัชญา ประจำปี พ.ศ. 2566

เนื่องจากสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนของประเทศไทยและเป็นสมาชิกของสหพันธ์ปรัชญานานาชาติ (FISP) และสหพันธ์ปรัชญานานาชาติได้จัดการแข่งขันโอลิมปิกปรัชญานานาชาติมาระยะหนึ่งแล้ว และเนื่องจากสมาคมฯมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการเรียนการสอนและการศึกษาปรัชญาในระดับโรงเรียนมัธยมในประเทศไทยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้มีมติจัดการแข่งขันโอลิมปิกปรัชญาในระดับชาติขึ้น เพื่อคัดเลือกตัวแทนไปร่วมแข่งขันโอลิมปิกปรัชญานานาชาติ ซึ่งจะจัดขึ้นที่เมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีซ ในระหว่างวันที่ 11 ถึง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 นี้ (https://www.philosophy-olympiad.org/)

รายละเอียดการสอบแข่งขันโอลิมปิกปรัชญาระดับชาติ

  1. สมาคมมีสิทธิส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาหรือนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่อายุไม่เกิน 20 ปีไปร่วมแข่งขันโอลิมปิกปรัชญานานาชาติ 2 คน ดังนั้นจะคัดเลือกผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 2 คนเป็นตัวแทนของประเทศไทย
  2. คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าแข่งขัน เป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศไทย หรือจบการศึกษาระดับมัธยมแล้วในขณะที่มาสอบ ในทุกกรณีต้องอายุไม่เกิน 20 ปีในปีที่มีการสอบแข่งขัน (เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป)
  3. การจัดสอบแข่งขันจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสอบจะเป็นรูปแบบเดียวกันกับการแข่งขันโอลิมปิกนานาชาติ คือมีข้อเขียนคัดสรรจากงานเขียนของนักปรัชญาจำนวนหนึ่งมาให้เลือก และเขียนเรียงความเพื่อตอบและอภิปรายเกี่ยวกับข้อเขียนนั้น ใช้เวลาสี่ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 9.00 ถึง 13.00 น. การเขียนเรียงความต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น คณะกรรมการที่สมาคมปรัชญาฯจะแต่งตั้งขึ้นจะเป็นผู้ตรวจให้คะแนนนักเรียนที่เข้าสอบ โดยใช้รูปแบบเดียวกันกับการสอบโอลิมปิกนานาชาติ การแข่งขันจะประกาศผลออกมาเป็นชื่อนักเรียนที่ได้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปร่วมแข่งขันโอลิมปิกนานาชาติสองคน และสำรองอีกสองคน เรียงความที่ผู้เข้าสอบเขียนควรมีเนื้อหาที่ตรงประเด็นกับหัวข้อที่เลือก (relevance to the topic) ความเข้าใจประเด็นทางปรัชญาในหัวข้อที่เลือก (philosophical understanding of the topic) การแสดงเหตุผลโต้แย้งที่น่าเชื่อถือ (persuasive power of argumentation) ความคิดริเริ่ม (originality) และความสอดคล้องกันของความคิด (coherence) ในการสอบนักเรียนสามารถนำพจนานุกรมที่เป็นเล่มเข้าไปได้ แต่ไม่อนุญาตให้นำพจนานุกรมอีเล็คโทรนิกส์หรือโทรศัพท์มือถือเข้าสอบ
  4. นักเรียนที่สนใจจะสมัครเข้าสอบแข่งขันกรุณาแจ้งความจำนงและกรอกใบสมัครส่งมาที่ รองศาสตราจารย์ ดร. เทพทวี โชควศิน ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กทม. 10900 อีเมล์ dr.theptawee@yahoo.com โดยขอให้สแกนภาพใบสมัครและบัตรประชาชนส่งมาทางอีเมล์ ภายในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2566
  5. เนื่องจากในขณะนี้สมาคมฯยังไม่มีงบประมาณในการส่งนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกให้เดินทางไปร่วมการแข่งขันที่ประเทศกรีซ นักเรียนที่ได้เข้าร่วมโอลิมปิกนานาชาติจึงต้องออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสถานที่แข่งขันเอง ส่วนค่ากินอยู่และค่าที่พักระหว่างแข่งขันทางผู้จัดจะเป็นผู้ออกให้
  6. ค่าลงทะเบียนสมัครสอบ 500 บาท จ่ายเป็นเงินสดก่อนเข้าสอบ
  7. สมาคมฯจะจัดอบรมเนื้อหาวิชาปรัชญาและเทคนิคการเขียนคำตอบข้อสอบโอลิมปิคให้แก่ผู้เข้าสอบและผู้สนใจทั่วไป รายละเอียดจะประกาศให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง
  8. คำตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกถือเป็นที่สิ้นสุด

ประกาศมา ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ศาสตราจารย์ ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
นายกสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดใบสมัครสอบ

 

Annual General Meeting of the Philosophy and Religion Society of Thailand

 

Tuesday, December 21, 2021

8.30 – 9.00 Registration

9.00 – 10.15 Panel Discussion (in English): “Doing Research in Philosophy and/or Religion in South-east Asia” / Panelists: Frank Hoffman and Warayuth Sriwarakuel / Moderator: Soraj Hongladarom

10.15 –10.30 Break English Papers

10:00-10:20 Samuel McCormick / “Buddhist Heidegger & Buddhist Lacan in Thailand Today”

10:20-10:40 Lois Lee / “A Jamesian Circularity: The Concept of the Divine in the Perception of Religious Objects”

10:40-11:00 Nicholas Rimell “Animalism Is Interesting, Important, and (Quite Plausibly) True”

11:00-11:20 Hazel T. Biana / “My Love from Southeast Asia: Viewpoints on Immortality and Reincarnation in K-dramas”

11:20-11:40 Virgilio A. Rivas / “Everyday Nihilism in Southeast Asia: Interpolating Spiritual Life with the Brain-Screen”

11:40-12:00 Jeremiah Joven Joaquin and Soraj Hongladarom / “Global Philosophy of Religion Project: Plans and Prospects”

12.00 – 13.00 Lunch 13:00-13:20 Frank J. Hoffman / “Taking a Point of View on a Debatable Question Concerning Karma and Rebirth.”

13:20-13:40 Audwin Wilkinson / “Interlanguage and Interbeing: A Buddhist Model for Advanced Language Acquisition”

13:40-14:00 Phurpa Dorji / “Shantideva’s Emptiness and Mehm Tim Mon’s Three Characteristics”

14:00-14:20 Christos Tsitsiridakis / “A Journey through the Mediaeval Argumentation for God’s Existence”

14.20-14.30 Break

14:30-14:50 Jan Mehlich / “Epistemological and Metaethical Constructivism in Buddhist Philosophy”

14:50-15:10 Pablo B. Sánchez Gómez / “The End of Times and the Messianism in Martin Heidegger’s and Jacques Derrida’s Work”

15:10-15:30 Lim Mun Chin / “Buddhism, Funeral Rites, and Theravada Tradition”

15:30-15:50 Pattamawadee Sankheangaew / “A Problematic Study of Modern Japanese Philosophy in Thailand: A Digital Era and Globalization”

 

Wednesday, December 22, 2021

8.30 – 9.00 Registration English Papers

9:00-9:20 Bhante Tenzin Dorjee / “The Nāgarjuna’s Concept of the Nirvāṇa”

9:20-9:40 Kanchana Horsaengchai / “An Integrated Model of Ecological Farming and Sustainable Development by Buddhist Peaceful Means”

9:40-10:00 Anoma Sakhare / “Anāgārika Dhammapāla’s Contribution in the Proliferation of Buddhism”

10.00-10:20 Venerable Shimo Sraman / “Buddhist Ethos of Cordiality and its Pertinency as a Network for Monastic Community Singularity”

10:20-10:40 Julius, Zhu Leijie / “Self or Non-self: An Epistemological Survey from Early Buddhism Perspective”

12.00 – 13.00 Lunch

13.00-14.15 (Thai Discussion Panel) การวิจัยด้านปรัชญาและศาสนา (ปรัชญาศาสนา) ในสังคมไทย วิทยากร (1) ผศ.ดร.วรากรณ์ พูลสวัสดิ์ ม.ราชภัฎนครปฐม (2) พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี (ดร.) คณะพุทธศาสตร์ มจร. ผู้ดำเนินรายการ: ผศ.ดร.อันธิฌา แสงชัย (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)

14.15-14.30 Closing Ceremony

 

Registration Non-members, 1,000 Baht Members of the PARST, 800 Baht Foreign participants (members or non-members), 30 US dollars Please pay via Western Union, Jerd Bandasak, and send your payment receipt to Jignsru@gmail.com

ขอเชิญส่งบทความเพื่อนำเสนอในงานประชุมสามัญประจำปีของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “การวิจัยด้านศาสนาในประเทศไทย ข้อท้าทายและทิศทางอนาคต”

ขอเชิญส่งบทความเพื่อนำเสนอในงานประชุมสามัญประจำปีของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “การวิจัยด้านศาสนาในประเทศไทย ข้อท้าทายและทิศทางอนาคต” ในวันที่ 20-22 ธันวาคม 2564 ในรูปแบบการประชุมออนไลน์
และในการประชุมนี้มีการประกาศเชิญชวนคณาจารย์หรือนิสิตนักศึกษาที่สนใจส่งบทความเข้ารับการพิจารณานำเสนอในการประชุมครั้งนี้ด้วย

บทคัดย่อมีความยาวไม่ต่ำกว่า 1 หน้า และไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4 โดยรวมเชิงอรรถ บรรณานุกรม ฯลฯ ทั้งหมดแล้ว
บทคัดย่อและบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
(บทความภาษาอังกฤษจะมีการจัดห้องแยกนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ)
ใช้การอ้างอิงแบบ APA

ผู้เขียนบทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอในการประชุม จะได้รับเชิญให้
เขียนบทความฉบับเต็ม 10-15 หน้ากระดาษ A4 เพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารของสมาคม โดยสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย

กำหนดส่งบทคัดย่อ 20 กันยายน 2564
จะแจ้งผลการพิจารณาบทคัดย่อ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2564
กำหนดส่งบทความฉบับเต็มภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564
ส่งบทคัดย่อที่ ผศ.ดร.เทพทวี โชควศิน
อีเมล dr.theptawee@yahoo.com

ไฟล์นำเสนอประวัติและผลงานของสมาคม ในการประชุม World Congress of Philosophy กรุ่งปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอประวัติและผลงานของสมาคม ในการประชุม World Congress of Philosophy กรุ่งปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561

กำหนดการงานประชุมสามัญประจำปี 2563 ในหัวข้อ “ความรู้ ปรัชญา และข่าวปลอมในยุคดิจิทัล”

กำหนดการงานประชุมสามัญประจำปี 2563
ในหัวข้อ “ความรู้ ปรัชญา และข่าวปลอมในยุคดิจิทัล”
โดย สมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
ร่วมกับ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันจันทร์ที่ 14 และวันอังคารที่ 15 ธันวาคม 2563
ห้องประชุม ชั้น 16 อาคารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อาคาร 27)

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2562

08.00 – 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 – 08.45 น. คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กล่าวพิธีเปิด
08.45 – 09.45 น. ความคิดเชิงวิพากษ์และปรัชญาการศึกษาของ จอห์น ดิวอี้ (อ.ดร. ณฐิกา ครองยุทธ ม.มหิดล)
09.45 – 10.00 น. รับประทานอาหารว่าง

นำเสนอบทความ (ห้องประชุมวิทยาลัยการดนตรี ชั้น 16 อาคาร 27)
10.00 – 11.00 น. “ปาณาติบาต: จากการฆ่าเอง เครื่องมือฆ่า ใช้คนอื่นฆ่า เครื่องจักรฆ่า และโปรแกรมฆ่า” ผศ.ดร. อำนาจ ยอดทอง (ม.มหิดล)
และ “จริยธรรมเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ในมุมมองพุทธทาส” ผศ.ดร. อำนาจ ยอดทอง (ม.มหิดล)
11.00 – 11.30 น. “เรื่องเล่าของชีวิตที่ดี” ดร. เจิด บรรดาศักดิ์ (ม.มหิดล)

12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.00 น. ญาณวิทยากับข่าวปลอม : ปัจเจกชน กลุ่มคน และวิทยาศาสตร์เปิด ในฐานะแนวทางบรรเทาปัญหา (ผศ.ดร. ศิรประภา ชวะนะญาณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

14.00 – 14.15 น. พักน้ำชา/กาแฟ อาหารว่าง

นำเสนอบทความ ห้อง 2708A
14.15 – 14.45 น. “บางเงาที่เลือนลางของภาวะข้อมูลท่วมท้น: อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำกับโลกอินเทอร์เน็ตภาษาไทย” พุฒวิทย์ บุนนาค
14.45 – 15.15 น. “ตัวตนออฟไลน์และตัวตนออนไลน์: ตัวตนไหนจริงกว่ากันและ/หรือเป็นตัวตนที่พึงประสงค์มากกว่ากัน” ภูดิส ศิสิตศิชศักดิ์
15.15 – 15.45 น. “ความจริง: ความรู้ ปรัชญา และข่าวปลอมในยุคดิจิทัล” มงคล เทียนประเทืองชัย
15.45 – 16.45 น. ประชุมใหญ่ประจำปีสมาคม

ห้อง 2708B
14.00 – 14.30 “A Conversation on Intention in Art” Frank Hoffman
14.30 – 15.00 “Nietzschean Intellectual Virtues and COVID-19 Fake News” Joseph Martin Jose
15.00 – 15.30 “Mapping Life-Affirmation in the Anthropocene: Cynical Reason and (Post-)Truth” Anton Heinrich Rennesland
15.30 – 16.00 PM “Befriending with Neighbors: Rethinking Kierkegaard’s Concern about Friendship” Puttipong Oungkanungveth
16.00-16.30 “Knowledge, Philosophy and Fake NEWS in Digital Era” Surachai Phetkaew

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม 2563

ห้อง 2708 A
09.30-10.00 น. เสวนาเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศ.ดร. วิทย์ วิศทเวทย์
รศ. สมฤดี วิศทเวทย์, ผศ. อุกฤษฏ์ แพทย์น้อย, ผศ.ดร. ประทุม อังกูรโรหิต, รศ.สิวลี ศิริไล, ผศ. สุนัย ครองยุทธ

10.00-10.15 น. อาหารว่าง

10.15-11.45 น. เสวนาเพื่อเป็นเกียรติแด่ ศ.ดร. วิทย์ วิศทเวทย์(ต่อ)
รศ.ดร. สมฤดี วิศทเวทย์, ผศ. อุกฤษฏ์ แพทย์น้อย, ผศ.ดร. ประทุม อังกูรโรหิต, รศ.สิวลี ศิริไล, ผศ. สุนัย ครองยุทธ

11.45 – 12.45 น. อาหารกลางวัน

12.45 – 13.15 น. “การคิดวิพากษ์ในฐานะคุณลักษณะทางปัญญา” ดร. ณฐิกา ครองยุทธ

13.15-13.45 น. “ข้อเสนอเรื่องการยกเลิกใช้คำว่า ‘ข่าวปลอม’ ของโจชัว แฮบกู้ด-คู้ท: ข้อโต้แย้งบางประการ” กษิดิศ พรมรัตน์

13.45 – 14.00 น. อาหารว่าง

14.00 – 14.30 น. “ความจำเป็นของปรัชญาเทคโนโลยีและการคิดเชิงวิพากษ์ในยุคดิจิทัล” ธัลดล ตั้งกิจเจริญพร
14.30 – 15.00 น. “สังคมออนไลน์กับค่าความจริงในโลกที่เปลี่ยนไป” อรุณี สุวรรณประภา
15.00 – 15.30 น. “Instrumental Reason and Recognition: How Robots Can be Human” ปวริศร์ หนูทอง
15.30 – 16.00 น. “ความสุดโต่งในแนวคิด Technological Determinism ที่มองข้ามความเป็นสังคมศาสตร์” พีรยา เทียมปัญญา
16.00 – 16.30 น. “From A.I. Artificial Intelligence (2001) to Black Mirror (2011): Human’s Perspectives on Technology in the Media” บุณยานุช ปัญจไพบูลย์
16.30 – 17.00 น. “Metafictional Avatar: The new role of the self in metafictional games” ปาเจรา ธนสมบูรณ์กิจ

ประกาศขยายเวลารับบทความ


ขอเชิญส่งบทความเพื่อนำเสนอในงานประชุมสามัญประจำปีของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
ในวันที่ 14-15 ธันวาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ในหัวข้อ “ความรู้ ปรัชญา และข่าวปลอมในยุคดิจิทัล”

และในการประชุมนี้มีการประกาศเชิญชวนคณาจารย์หรือนิสิตนักศึกษาที่สนใจส่งบทความเข้ารับการพิจารณานำเสนอในการประชุมครั้งนี้ด้วย บทคัดย่อประมาณ 1 หน้ากระดาษ หรือ บทความฉบับเต็ม ความยาว 10- 15 หน้า A4 โดยรวมเชิงอรรถ บรรณานุกรม ฯลฯ ทั้งหมดแล้ว
บทคัดย่อและบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (บทความภาษาอังกฤษจะมีการจัดห้องแยกนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ) ใช้การอ้างอิงแบบ APA

กำหนดส่งบทความ
ภายในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563
และสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทยจะแจ้งผลการพิจารณา ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563

ส่งบทความหรือบทคัดย่อที่ ผศ.ดร.เทพทวี โชควศิน
dr.theptawee@yahoo.com