วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
JOURNAL OF THE PHILOSOPHY AND RELIGION SOCIETY OF THAILAND

วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย เป็นวารสารทางวิชาการสาขาปรัชญาและศาสนาของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. สร้างสรรค์และพัฒนาองค์ความรู้ด้านปรัชญาและศาสนาในประเทศไทย
2. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในวงการวิชาการสาขาปรัชญาและศาสนาให้มีผลงาน ทางวิชาการในระดับสากล
3. เป็นเวทีสำหรับการสนทนาทางวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา
4. เผยแพร่องค์ความรู้ด้านปรัชญาและศาสนาสู่สาธารณะ

กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เดือนมีนาคม และฉบับที่ 2 เดือนกันยายน

สารบัญ

วารสารฉบับปฐมฤกษ์ ฉบับที่ 1 ปีที่ 1 มีนาคม 2549
วารสารฉบับที่ 2 ปีที่ 1 กันยายน 2549
วารสารปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2550
วารสารปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กันยายน 2550
วารสารปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2551

วารสารปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2556
วารสารปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กันยายน 2556
วารสารปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2557
วารสารปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กันยายน 2557

คณะบรรณาธิการ

  • รองศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ สิงห์สุริยา (ภาควิชามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) บรรณาธิการ
  • อาจารย์ ดร. พุฒวิทย์ บุนนาค (ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) รองบรรณาธิการ
  • อาจารย์ ดร. เทพทวี โชควศิน (สาขาวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี) รองบรรณาธิการ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาญณรงค์ บุญหนุน (ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร) กองบรรณาธิการ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนภณ สมหวัง (สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีปทุม) กองบรรณาธิการ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ (ภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) กองบรรณาธิการ

การเป็นสมาชิกวารสารและการสั่งซื้อ

สมาชิกสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทยทั้งสมาชิกสามัญและสมาชิกสมทบเป็นสมาชิกวารสารฯโดยอัตโนมัติ  สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมฯ แต่ประสงค์จะเป็นสมาชิกวารสารฯ  โปรดสมัครเป็นสมาชิกวารสารฯ ที่อาจารย์ ดร. เทพทวี โชควศิน E-mail : thankgod@sut.ac.th

อัตราค่าสมาชิกปีละ 180 บาท   หากสั่งซื้อเฉพาะฉบับ ราคาฉบับละ 100 บาท เพิ่มค่าส่งฉบับละ 20 บาท

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดใบสมัครสมาชิกวารสารสมาคม

การส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์และการปริทัศน์หนังสือหรือบทความ

การส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์บทความที่จะส่งเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ต้องเป็นบทความสาขาปรัชญาหรือศาสนาที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ มีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แจ้งชื่อและสภานที่ทำงานหรือสถานศึกษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ทางE-mail ที่สามารถติดต่อได้ มายัง

รองศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ สิงห์สุริยา E-mail : pagorn.sin@mahidol.ac.th

นอกจากนี้ระบบอ้างอิงที่ใช้ในการเขียนบทความสำหรับวารสารนี้ใช้ระบบการอ้างอิงแบบเชิงอรรถ หรือ  Chicago citation style สำหรับรายการอ้างอิงใช้ตามตัวอย่างดังนี้

กรณีเป็นหนังสือ

ในรายการอ้างอิง/บรรณานุกรม

วิทย์ วิศทเวทย์. ปรัชญาการศึกษาไทย 2411-2475. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, 2526.
Feyerabend, Paul K. Against Method.  London : Humanities Press, 1975.

ในเชิงอรรถ

วิทย์ วิศทเวทย์, ปรัชญาการศึกษาไทย 2411-2475 (กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, 2526), น.21.
Paul K. Feyerabend, Against Method (London : Humanities Press, 1975), p.103.

กรณีเป็นบทความในวารสาร

ในรายการอ้างอิง/บรรณานุกรม

วิทย์ วิศทเวทย์. “ชีวิตที่ดี”. วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย 1, 2 (2549): 2-21.

Arrow, Kenneth J. “Alternative Approaches to the Theory of Choice in Risk-Taking Situation”. Econometrica 19, 4 (1951): 404-37.

ในเชิงอรรถ

วิทย์ วิศทเวทย์, “ชีวิตที่ดี”, วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย 1, 2 (2549): 15.

Kenneth J. Arrow, “Alternative Approaches to the Theory of Choice in Risk-Taking Situation”, Econometrica 19, 4 (1951): 435.

 

กรณีเป็นบทความในหนังสือ

ในรายการอ้างอิง/บรรณานุกรม

 

Tamthai, Mark. “Values in the Age of Science and Technology”. in Philosophy and Democracy in Asia. ed. Philip Cam, In-suk Cha and Mark Tamthai, 121-128. Seoul : The Korean National Commission for UNESCO, 1995.

ในเชิงอรรถ

Mark Tamthai, “Values in the Age of Science and Technology”, in Philosophy and Democracy in Asia. ed. Philip Cam, In-suk Cha and Mark Tamthai (Seoul : The Korean National Commission for UNESCO, 1997), pp. 124-125.

 

กรณีเป็นงานแปล

ในรายการอ้างอิง/บรรณานุกรม

ทอมัส เอส. คูห์น. โครงสร้างของการปฏิวัติในวิทยาศาสตร์. แปลโดย สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว, 2544.

Heidegger, Martin. Being and Time. trans. John Macquarrie and Edward Robinson. Oxford : Blackwell Publishing, 2005.

ในเชิงอรรถ

ทอมัส เอส. คูห์น, โครงสร้างของการปฏิวัติในวิทยาศาสตร์, แปลโดย สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว, 2544), น.34-35.

Martin Heidegger, Being and Time, trans. John Macquarrie and Edward Robinson (Oxford : Blackwell Publishing, 2005), p.94.

 

นอกจากนี้ การอ้างอิงซ้ำในส่วนของเชิงอรรถ เอกสารภาษาไทยให้ใช้ “เรื่องเดิม” เอกสารภาษาอังกฤษให้ใช้ ibid. หรือ op.cit. ตามตัวอย่างนี้ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1

1 วิทย์ วิศทเวทย์, ปรัชญาการศึกษาไทย 2411-2475 (กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, 2526), น.21.
2 เรื่องเดิม, น.43.
วิทย์ วิศทเวทย์, “ชีวิตที่ดี”, วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย 1, 2 (2549): 15.
4 วิทย์ วิศทเวทย์, ปรัชญาการศึกษาไทย 2411-2475, น.57.

 ตัวอย่างที่ 2

1 Paul K. Feyerabend, Against Method (London : Humanities Press, 1975), 103.
2 Ibid.
3 Martin Heidegger, Being and Time, trans. John Macquarrie and Edward Robinson (Oxford : Blackwell Publishing, 2005), p. 94.
4Feyerabend, op.cit, pp.200-201.