วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
ISSN 1905 – 4084
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2556
สารบัญ
บทความวิจัย
- การแบ่งแยกระหว่างรัฐกับศาสนจักร : มโนทัศน์ทางนิติปรัชญาและกฎหมายมหาชนอานนท์ มาเม้า
2. Ethical Contextualism and Personal Justification William Paul Demsar
บทความพิเศษ
- ผู้พิการจากมุมมองทางปรัชญาปกรณ์ สิงห์สุริยา และวิภาดา อังสุมาลิน
บทคัดย่อ
อานนท์ มาเม้า. “การแบ่งแยกระหว่างรัฐกับศาสนจักร : มโนทัศน์ทางนิติปรัชญาและกฎหมายมหาชน”. วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย. 8: 1-49.
มโนทัศน์ทางปรัชญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างศาสนา ศาสนจักร กับรัฐ เป็นมโนทัศน์ที่นักปรัชญาได้ศึกษามาเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของนิติปรัชญา การศึกษาและวิเคราะห์มโนทัศน์ดังกล่าวยังเกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชนอย่างมีนัยสำคัญ ความสำคัญของปัญหาคือ เหตุผลหรือความจำเป็นที่ต้องแยกรัฐออกจากศาสนจักรคืออะไร การแยกนี้ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ใดบ้าง และเมื่อยึดถือการแยกรัฐออกจากศาสนจักรแล้ว รัฐจะจัดความสัมพันธ์ต่อความเชื่อทางศาสนาและต่อศาสนจักรอย่างไร ปัญหาที่ยกมาข้างต้นสมควรที่จะได้มีการศึกษาและวิพากษ์วิจารณ์กันในห้วงเวลาที่ประเทศไทยยังปราศจากองค์ความรู้ในเรื่องนี้และยังประสบกับบรรดาข้อเรียกร้องเกี่ยวกับศาสนาที่มากขึ้นเป็นระยะ
The philosophical concept concerning the relationship between religion, Church (religious authority) and state is one which philosophers have been studying for a long time, especially in the dimension of legal philosophy. Also, the study of this concept has significant implications for public law. Important questions are what the reasons or necessity are of the separation of Church and state, whether the separation of Church and state causes any benefits, and what stance the state should adopt towards personal faiths. All of the issues raised above deserve to be critically studied in the time when Thais do not have sufficient knowledge on this subject and yet have to face increasing claims regarding the issue of religion.
William Paul Demsar. “Ethical Contextualism and Personal Justification”. วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย. 8: 50-59.
ในบทความนี้ ต้องการโต้แย้งคำอธิบายเชิงบริบทนิยมของการให้เหตุผลสนับสนุนส่วนบุคคล โดยเริ่มต้นด้วยการแยกการให้เหตุผลสนับสนุนส่วนบุคคลออกจากการให้เหตุผลสนับสนุนเกี่ยวกับความเชื่อ การให้เหตุผลสนับสนุนส่วนบุคคลซึ่งเป็นจุดเน้นของนักทฤษฎีแบบเน้นปัจจัยภายในนี้มุ่งประเมินค่าผู้กระทำ ส่วนการให้เหตุผลสนับสนุนเกี่ยวกับความเชื่อเป็นจุดเน้นนองนักทฤษฎีแบบเน้นปัจจัยภายนอกนั้นมุ่งประเมินความเชื่อของผู้กระทำ ผู้เขียนเสนอว่าความคล้ายคลึงระหว่าง ‘ผิด’ กับ ‘มีเหตุผลสนับสนุนส่วนบุคคล’ มีความแนบแน่นอย่างมากจนกระทั่งต้องยอมรับคำอธิบายเชิงบริบทนิยมทั้งสองกันพร้อมกันหรือไม่ก็ปฏิเสธไปทั้งคู่ เนื่องจากคำอธิบายเชิงบริบทนิยมของ ‘ผิด’ นั้นล้มเหลว คำอธิบายเชิงบริบทนิยมของ ‘มีเหตุผลสนับสนุนส่วนบุคคล’ จึงจะล้มเหลวไปด้วย ในที่นี้ ผู้เขียนไม่ได้แสดงจุดยืนเกี่ยวกับบทบาทที่ควรจะเป็นของความคิดเรื่องการให้เหตุผลสนับสนุนส่วนบุคคลและการให้เหตุผลสนับสนุนเกี่ยวกับความเชื่อ ในด้านความสัมพันธ์กับทฤษฎีความรู้ ผู้เขียนเพียงแต่ประสงค์จะสรุปว่าทฤษฎีใดก็ตามที่ผูกอยู่กับคำอธิบายเชิงบริบทนิยมของการให้เหตุผลสนับสนุนส่วนบุคคลนั้นถือว่ายังไม่เพียงพอ ผู้เขียนสรุปด้วยการเสนอความคิดย่นย่อว่าผลที่ตามมาจากข้อถกเถียงในบทความนี้จะทำให้มีทฤษฎีประเภทใดบ้างที่จะต้องตกไปด้วย
In this paper I argue against a contextualist account of personal justification. I begin by delineating personal justification from doxastic justification. Personal justification, typically emphasized by epistemic internalists, evaluates agents. Doxastic justification, typically emphasized by epistemic externalists, evaluates the beliefs of the agent. I argue that the analogy between ‘wrong’ and ‘personally justified’ is so strong that the respective contextualist accounts must stand or fall together. Therefore, since contextualist accounts of ‘wrong’ fail, so must contextualist accounts of ‘personally justified.’ I take no position regarding the proper role of the notions of personal and doxastic justification with regard to the theory of knowledge, but simply conclude that any theory committed to a contextualist account of personal justification is inadequate. I conclude with some brief thoughts on the kinds of theories that are ruled out by the arguments of this paper.
ปกรณ์ สิงห์สุริยา และวิภาดา อังสุมาลิน. “ผู้พิการจากมุมมองทางปรัชญา”. วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย. 8: 60-79.
“พิการ” เป็นคำที่สามารถเป็นอุปสรรคแก่ความเข้าใจได้ เนื่องจากภาพลวงจากความที่เป็นคำสามัญทั่วไป คำนี้มีปรากฏในกรอบแนวคิดทางปรัชญาที่ขัดแย้งและมีนัยยะเชิงนโยบายอันแตกต่างกัน จึงนับเป็นทางบรรจบของปรัชญาและการปฏิบัติ ในบรรดากรอบแนวคิดเหล่านี้ ที่ทรงอิทธิพลได้แก่รูปแบบเชิงการแพทย์และรูปแบบเชิงสังคม แม้ว่ารูปแบบเชิงสังคมจะเป็นปฏิปักษ์กับรูปแบบเชิงการแพทย์ แต่ก็มีฐานคติแบบเดสการ์ตเช่นเดียวกัน จึงนำสู่การกดขี่คนพิการไม่น้อยไปกว่ากัน ประเด็นนี้ถูกเปิดโปงในงานด้านการรื้อโครงสร้างของนักวิชาการสายหลังสมัยใหม่/หลังโครงสร้างในทุพลภาพศึกษา ดังนั้น จึงได้เสนอกรอบแนวคิดของฟูโกสำหรับการปลดปล่อยผู้พิการโดยมิให้มีการกดขี่เป็นผลตามมาด้วยนั้น เพื่อให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจ จึงนำเสนอผลการศึกษาผ่านกรณีศึกษาของเธเรซา ชาน สตรีผู้มีความพิการซ้ำซ้อนที่ได้รับการบอกเล่าในภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลเรื่อง “Be With Me”
“Disability” is a term that can be very disabling to our comprehension because of its illusory commonness. Embedded in conflicting philosophical frameworks with different policy implications, it is such an intersection of the philosophical and the practical. Most influential among these frameworks are the medical model and the social model of disability. Despite its declared animosity toward the former, the latter shares its Cartesian presuppositions and therefore leads to no less oppression of people with disabilities. This is exposed in the work of deconstruction by later postmodern/poststructuralist scholars in disability studies. To liberate the disabled without oppressive side effects, a Foucauldian framework is thus offered as an alternative. The case study of “Theresa Chan,” a multiple-disabled woman as portrayed in the award-winning film, “Be With Me,” is herein used to facilitate understanding.