วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
ISSN 1905 – 4084
ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2557
สารบัญ
บทความวิจัย
- ข้อสังเกตต่อ “คุณค่าที่แท้จริง” ตามทัศนะของโกลด์แมน จากการพิจารณาประเด็นปัญหาในญาณวิทยาเชิงสังคมบางประการเกี่ยวกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ศิรประภา ชวะนะญาณ
- พหุนิยมทางคุณค่ากับข้อเสนอสามรูปแบบ: อิสยาห์ เบอร์ลิน จอห์น รอลส์ และโทมัส สแคนลอน ปิยฤดี ไชยพร
บทคัดย่อ
ศิรประภา ชวะนะญาณ. “ข้อสังเกตต่อ “คุณค่าที่แท้จริง” ตามทัศนะของโกลด์แมน จากการพิจารณาประเด็นปัญหาในญาณวิทยาเชิงสังคมบางประการเกี่ยวกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต”. วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย. 9, 1: 1-40.
Siraprapa Chavanayarn. “The Aspects of Goldman’s Veritistic Value from Considering Some Social Epistemological Problems about the Internet“. Philosophy and Religion Society of Thailand. 9, 1: 41-96.
อัลวิน โกลด์แมน (Alvin Goldman) เสนอ “แนวทางที่แท้จริง” (veritistic approach) เพื่อใช้พิจารณาประเด็นปัญหาในญาณวิทยาเชิงสังคม ญาณวิทยาเชิงสังคมที่แท้จริงตามทัศนะของโกลด์แมนหมายถึงศาสตร์ที่ประเมินกิจกรรมต่าง ๆ โดยพิจารณาว่ากิจกรรมนั้น ๆ สนับสนุนให้เกิดความรู้อย่างไร โดยคำว่า “ความรู้” สำหรับโกลด์แมนนั้นหมายถึงความรู้ในความหมายแบบอ่อนที่หมายถึง “ความเชื่อที่จริง” (true belief) โกลด์แมนเห็นว่า “ความเชื่อที่จริง” มีคุณค่าที่แท้จริง (veritistic value) แบบพื้นฐาน และกิจกรรมอื่น ๆ มีคุณค่าที่แท้จริงในเชิงเป็นเครื่องมือตราบเท่าที่กิจกรรมเหล่านั้นสนับสนุนการได้มาซึ่งคุณค่าที่แท้จริงแบบพื้นฐาน บทความชิ้นนี้ต้องการให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อเสนอของโกลด์แมน โดยจะนำเสนอผ่านประเด็นปัญหาในญาณวิทยาเชิงสังคมเกี่ยวกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กล่าวคือ จากการศึกษาประเด็นปัญหาเกี่ยวกับวิกิพีเดีย การไม่เปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับตนเอง และความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูล ผู้วิจัยเห็นด้วยกับโกลด์แมนว่า “ความเชื่อที่จริง” มีคุณค่าพื้นฐาน นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังพบว่ามีคุณค่าอื่น ๆ นอกเหนือไปจากที่โกลด์แมนเสนอ นั่นคือ “ความเชื่อที่มีเหตุผล” และ “ความเชื่อที่เคารพในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลของผู้อื่น” โดย “ความเชื่อที่มีเหตุผล” มีคุณค่ารองหรือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในเชิงเป็นเครื่องมือสนับสนุนการมีความเชื่อที่จริง ส่วน “ความเชื่อที่เคารพในความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น” มีคุณค่าพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งเทียบเท่ากับการมีความเชื่อที่จริง
Alvin Goldman proposes his veritistic approach to consider issues in social epistemology. Veritistic social epistemology, according to Goldman, is a discipline that evaluates practices by their causal contributions to knowledge or error. For Goldman, the word “knowledge” is understood as knowledge in the weak sense that means “true belief”. He claims that “true belief” has a fundamental veritistic value, and practices have an instrumental veritistic value insofar as they promote the acquisition of fundamental veritistic value. This article has an objective to make further remarks on Goldman’s account of veritistic value by considering issues in social epistemology concerning the internet network. That is to say, according to my research on Wikipedia, anonymity and informational privacy, I agree with Goldman that “true belief” has a fundamental veritistic value. However, I found two other values apart from those that Goldman identifies. The first one is “reasonable belief” and the second one is “belief in respecting other’s informational privacy.” “Reasonable belief” has an instrumental veritistic value, but “belief in respecting other’s informational privacy” has a fundamental value as “true belief.”
ปิยฤดี ไชยพร. “พหุนิยมทางคุณค่ากับข้อเสนอสามรูปแบบ: อิสยาห์ เบอร์ลิน จอห์น รอลส์ และโทมัส สแคนลอน”. วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย. 9, 1: 41-96.
Piyarudee Chaiyaporn. “Value Pluralism and Three Proposals: Isaiah Berlin, John Rawls and Thomas Scanlon”. Philosophy and Religion Society of Thailand. 9, 1: 41-96.
บทความนี้สำรวจแนวคิดเรื่องพหุนิยมทางคุณค่าและข้อเสนอว่าด้วยหลักการในการจัดระเบียบสำหรับสังคมเสรีประชาธิปไตยที่เป็นพหุนิยมทางคุณค่าของอิสยาห์ เบอร์ลินและจอห์น รอลส์ และวิเคราะห์ให้เห็นว่าข้อเสนอเหล่านี้ยังมีข้อจำกัดภายในหรือ/และภายนอก ทำให้ยังไม่สามารถเป็นทางออกที่ครบถ้วนสมบูรณ์สำหรับสังคมเสรีประชาธิปไตยที่เป็นพหุนิยมทางคุณค่าได้ พหุนิยมทางคุณค่าที่เบอร์ลินอธิบายมีความไม่ลงรอยภายในเกี่ยวกับปัจเจกบุคคลผู้เป็นที่มาของคุณค่าและลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผลและเป็นสัมพัทธ์ของคุณค่า และข้อเสนอเรื่องเสรีภาพเชิงลบของเขาไม่มีพื้นที่ให้สำหรับคุณค่าอื่นที่สำคัญไม่แพ้กันสำหรับสังคมชนิดนี้ เช่น ความเสมอภาค ความยุติธรรมและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ขณะที่ข้อเสนอเรื่องสังคมที่ยุติธรรมของรอลส์ยังไม่สามารถจัดสรรพื้นที่ให้อย่างเพียงพอสำหรับคุณค่าเรื่องชีวิตที่ดี บทความนี้จึงเสนอว่าคำอธิบายของโทมัส สแคนลอนเรื่องเหตุผลและกระบวนการทบทวนคำวินิจฉัยเกี่ยวกับเหตุผลสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการสลายความไม่ลงรอยในคำอธิบายเรื่องพหุนิยมทางคุณค่าของเบอร์ลิน รวมทั้งประนีประนอมคุณค่าเรื่องเสรีภาพให้สามารถเข้ากันได้กับคุณค่าชนิดอื่นที่เมื่อมองโดยผิวเผินแล้วอาจเหมือนขัดแย้งกัน โดยเฉพาะคุณค่าเรื่องชีวิตที่ดีในข้อเสนอเรื่องสังคมที่ยุติธรรมของรอลส์
In this article, a concept of value pluralism and principles for liberal-democratic social organization according to Isaiah Berlin and John Rawls are investigated. An analysis shows that their proposals suffer from internal and external limitations and, therefore, cannot offer a complete solution for the liberal-democratic society with its plurality of values. Berlin’s theory of value pluralism contains internal inconsistencies stemming from his concept of individual as the source of value, and related concepts of rationality and relativity of values. His concept of negative liberty provides no space for other values indispensable for the liberal-democratic society e.g. equality, justice and political participation. Meanwhile, Rawls’ proposals are incapable of allocating sufficient space for the value of good life. This article argues that Thomas Scanlon’s concepts of reason and reflective equilibrium can deal with the inconsistencies in Berlin’s theory and, at the same time, enable the value of liberty to co-exist with other values, especially the value of good life in Rawls’ theory of a just society, that contradict it at the superficial level.