วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
ISSN 1905 – 4084
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กันยายน 2557
สารบัญ
บทความวิจัย
- “การแก้กรรม” ตามนัยคัมภีร์พระพุทธศาสนาอำนาจ ยอดทอง
- พุทธศาสนาประจำชาติไทยในรัฐธรรมนูญชาญณรงค์ บุญหนุน
- ปัจเจกบุคคลร่วมในสังคมการเมืองกับบทบาทของเสียงข้างมากในทฤษฎีพันธสัญญาของจอห์น ล็อคกฤตภาศ ศักดิษฐานนท์
- บทอภิปรายบทความของกฤตภาศ ศักดิษฐานนท์ เรื่อง“ปัจเจกบุคคลร่วมในสังคมการเมืองกับบทบาทของเสียงข้างมากในทฤษฎีพันธสัญญาของจอห์น ล็อค” ชัชชัย คุ้มทวีพร
- บทอภิปรายบทความของกฤตภาศ ศักดิษฐานนท์ เรื่อง“ปัจเจกบุคคลร่วมในสังคมการเมืองกับบทบาทของเสียงข้างมากในทฤษฎีพันธสัญญาของจอห์น ล็อค” วรเทพ ว่องสรรพการ
- การพัฒนาทักษะทางปัญญาด้วยกิจกรรมชุมชนแห่งการสืบสอบเชิงปรัชญา: การศึกษาในนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจริยา นวลนิรันดร์
- การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ระหว่างปี พ.ศ.2551-2555 หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาศาสนาเปรียบเทียบ ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อรวรรณ เอกเอื้อมณี
บทคัดย่อ
อำนาจ ยอดทอง. “”การแก้กรรม” ตามนัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา”. วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย. 9, 2: 1-44.
จากหลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา โดยเฉพาะเรื่องราวของพระองคุลีมาล, โฆสกเศรษฐี, และอายุวัฒนกุมาร ทำให้ได้นิยามของการแก้กรรม 3 ประการ คือ (1) การกระทำกุศลกรรม (กรรมดี) ที่มีผลทำให้วิบากของอกุศลกรรม (กรรมชั่ว) ในอดีตไม่มีโอกาสให้ผล (2) การกระทำกุศลกรรมที่มีผลทำให้วิบากของอกุศลกรรมในอดีตลดความรุนแรงน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น และ (3) การกระทำกุศลกรรมในปัจจุบันที่มีผลไปลบล้างวิบากของอกุศลกรรมในอดีตจนหมดสิ้น อนึ่ง การแก้กรรมทั้ง 3 นัยนี้มิได้ไปลบล้างกฎแห่งกรรมแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นไปตามกฎแห่งกรรมที่สำคัญ 3 ประการ คือ (1) อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก (2) อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น และ (3) อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน พระพุทธศาสนาเรียกว่า “การทำกุศลเพื่อละอกุศล” หรือเรียกโดยทั่วไปว่า “การทำกุศลแก้อกุศล” นั่นเอง
According to stories in the Tipitaka and their commentaries, especially those related to Angulimala, Ghosaka and Ayuvadhna, thwarting of karmic reaping can be understood in three ways: (1) Kusala (or good) kammas prevent consequences of akusala (or bad) kammas; (2) Kusala kammas weakens consequences of akusala kammas; and (3) Present kusala kammas nullify all the consequences of past akusala kammas. However, the thwarting does not contradict the Law of Kamma. The three ways of thwarting are ahosi-kamma (Ineffective kamma), upapilaka-kamma (repressive kamma) and upaghataka-kamma (destructive kamma). In Buddhism, it is called “performing kusala kammas to restrain consequences of akusala kammas” or in laymen’s term, “doing kusala to fix akusala.”
ชาญณรงค์ บุญหนุน. “พุทธศาสนาประจำชาติไทยในรัฐธรรมนูญ”. วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย. 9, 2: 45-78.
บทความนี้เป็นการสำรวจข้อโต้แย้งระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านการบัญญัติพุทธศาสนาประจำชาติไทยไว้ในรัฐธรรมนูญ ในช่วง ปี พ.ศ.2550 จากบทความที่ตีพิมพ์ในสื่อหนังสือพิมพ์และเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตจำนวนหนึ่ง จากการสำรวจได้พบข้อโต้แย้งที่น่าสนใจ คือ ฝ่ายสนับสนุนการบัญญัติพุทธศาสนาประจำชาติไทยไว้ในรัฐธรรมนูญได้อ้าง “ความต่อเนื่องทางอุดมการณ์ของรัฐไทยแบบจารีตกับรัฐไทยสมัยปัจจุบัน” ที่รัฐหรือผู้ปกครองต้องทำหน้าที่ทำนุบำรุงพุทธศาสนา อันเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญของกษัตริย์ไทยในอดีต ประเด็นปัญหาที่น่าสนใจในข้อโต้แย้งของกลุ่มผู้สนับสนุนอยู่ที่การตีความการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตรงกันข้ามกับฝ่ายที่คัดค้านการบัญญัติพุทธศาสนาประจำชาติไทยไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งปฏิเสธความสืบเนื่องดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่ารัฐชาติไทยสมัยใหม่ เป็นรัฐฆราวาส ซึ่งแยกศาสนาออกจากรัฐ มีอุดมการณ์หลักในการปกป้องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของพลเมืองทุกคน
This paper aims to survey in newspapers and the Internet arguments for and against a proposal to constitutionally establish Buddhism as the state religion during the year 2007. The survey showed an interesting argument. The supporters based their claim on “the ideological continuity of the traditional and modern Thai state.” That is, the state or ruler is obliged to support Buddhism. This was an important royal duty in the old times. It is interesting that the supporters’ argument was based on the continuous transition from monarchy to democracy with the king as head of state while the continuity is denied by the dissenters claiming that the modern Thai state is secular. Such state endorses the principle of separation of church and state, and protection of rights, freedom and equality.
กฤตภาศ ศักดิษฐานนท์. “ปัจเจกบุคคลร่วมในสังคมการเมืองกับบทบาทของเสียงข้างมากในทฤษฎีพันธสัญญาของจอห์น ล็อค”. วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย. 9, 2: 79-97.
จอห์น ล็อคได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งรัฐบาลอันชอบธรรมว่าต้องมาจากพันธสัญญาของสมาชิกของสังคมการเมือง แต่อย่างไรก็ตาม ล็อคไม่ได้เสนอว่าพันธสัญญาต้องเป็นฉันทามติของทุกคน เพียงแต่กล่าวถึงการยินยอมร่วมกันของสมาชิกในสังคมการเมืองและการตัดสินหรือวินิจฉัยในเรื่องต่างๆของรัฐบาลก็ต้องอาศัยมติของสมาชิกในสังคมการเมืองซึ่งได้มาตามเสียงข้างมากเป็นตัวชี้วัด จุดนี้เองทำให้อาจเกิดความเป็นไปได้ว่าการตัดสินด้วยเสียงข้างมากนั้นอาจมีโอกาสเกิดการละเมิดสิทธิธรรมชาติของเสียงข้างน้อยได้ เพื่อจะตอบปัญหาดังกล่าว บทความนี้จึงได้มุ่งไปที่การทบทวนและวิเคราะห์การใช้เสียงข้างมากในการเป็นพื้นฐานรองรับความชอบธรรมของรัฐบาลตามกรอบคิดของล็อคว่าสามารถตอบโต้หรือหักล้างข้อโต้แย้งต่างๆที่กล่าวมาได้หรือไม่ อย่างไร บทความนี้เสนอว่าการทำความเข้าใจแนวคิดทางการเมืองของล็อคใน Two Treatises of Government นั้นต้องอาศัยแนวทางการตีความแบบ Collectivism ด้วยการมองให้เห็นถึงสถานภาพของปัจเจกบุคคลในสังคมการเมืองว่าเป็นปัจเจกบุคคลร่วม มิใช่ปัจเจกบุคคลบริสุทธ์หรือปัจเจกบุคคลมูลฐานที่โดดเดี่ยวและเป็นอิสระ ถึงแม้ว่าล็อคจะเริ่มต้นอธิบายแนวคิดทางการเมืองของเขาจากสภาวะธรรมชาติก็ตาม
John Locke proposed that a legitimate government is obtained through a contract among members of the socio-political community. However, he did not state that the contract should be anonymously reached, only that mutual consent among the members and decision making by the government need to be based on the majority rule. This opens for a possibility of violating minority’s natural rights. Facing this problem, this article reviews and analyzes the majority rule as the basis of government’s legitimacy, and find out whether Locke’s framework can solve the problem. In this article, it is proposed that, to understand Locke’s political thoughts in Two Treatises of Government, an interpretive framework of collectivism should be adopted and the status of individuals in a socio-political community is thereby seen as collective, not atomic even though Locke’s political theory started with the state of nature.
จริยา นวลนิรันดร์. “การพัฒนาทักษะทางปัญญาด้วยกิจกรรมชุมชนแห่งการสืบสอบเชิงปรัชญา: การศึกษาในนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย”. วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย. 9, 2: 110-131.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะทางปัญญาของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียนวิชา HO202 การคิดเพื่อการพัฒนา ซึ่งสอนโดยใช้กิจกรรมชุมชนแห่งการสืบสอบเชิงปรัชญา (2) เปรียบเทียบทักษะทางปัญญาของนักศึกษาดังกล่าว จำแนกตามเพศและสาขาวิชา และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาและทักษะทางปัญญาหลักเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ จำนวน 107 คน การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สถิติทดสอบที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) คะแนนทักษะทางปัญญาของนักศึกษาก่อนและหลังผ่านกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังผ่านกิจกรรมนักศึกษามีคะแนนทักษะทางปัญญาสูงกว่าก่อนผ่านกิจกรรม (2) หลังผ่านกิจกรรม นักศึกษาที่มีเพศและสาขาวิชาต่างกัน มีคะแนนทักษะทางปัญญาไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และ (3) คะแนนทักษะทางปัญญามีความสัมพันธ์กับเกรดเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
This research aimed to (1) compare undergraduate students’ cognitive skills before and after participation in the course, HO202 Thinking for Development, taught through philosophical inquiry activities; (2) compare the skills across genders and majors; and (3) study a correlation between the students’ grade point averages and the skills after the participation. The samples were 107 second-year undergraduate students in the School of Humanities and Applied Arts, University of the Thai Chamber of Commerce. Data were analyzed with means, standard deviation, T-test, ANOVA/F-test and Pearson’s Correlation. Findings showed that (1) the cognitive skill scores of the students before and after the participation were statistically different at 0.05 level; (2) After the participation, the scores of students with different genders and majors did not have statistically significant difference; and (3) The cognitive skill scores were significantly correlated with grade point averages at 0.01 level.
อรวรรณ เอกเอื้อมณี. “การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ระหว่างปี พ.ศ.2551-2555 หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศาสนาเปรียบเทียบ ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล”. วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย. 9, 2: 132-146.
งานวิเคราะห์นี้มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์รูปแบบการวิจัยและวิธีเก็บ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์ประเด็นเนื้อหาการศึกษาวิจัยข้อมูลของวิทยานิพนธ์ระหว่างปี พ.ศ.2551-2555 ของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศาสนาเปรียบเทียบ ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลการวิเคราะห์แสดงว่าวิทยานิพนธ์ที่ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพมีจำนวนมากที่สุด วิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเพียงวิธีเดียว โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากเอกสาร นอกจากนี้ในด้านของประเด็นเนื้อหาการศึกษาวิจัย พบว่ามีวิทยานิพนธ์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพุทธศาสนาจำนวนมากที่สุด สำหรับประเด็นการศึกษาวิจัย พบว่าประกอบด้วยเรื่องคำสอนของศาสนา ศาสนิก หรือองค์กรทางศาสนา ทัศนะ ความเชื่อและการปฏิบัติทางศาสนา อิทธิพลศาสนาต่อความเชื่อในสังคม การประยุกต์และทดสอบคำสอนหรือความเชื่อ บทบาทในการแก้ปัญหาสังคมของศาสนา และแง่มุมทางประวัติศาสตร์ของศาสนา
This analysis aims to analyze types of research and methods of data collection, and to analyze subject matters of theses between 2008 and 2012 in the Master of Arts Program in Comparative Religion, Department of Humanities, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University. Results show that the theses using qualitative research comprise the highest number. Most of them used a single method of data collection i.e. documentary data collection. In addition, regarding the subject matters, most theses studied Buddhism. The topics of study were religious teachings, followers and organizations; religious beliefs and practices; influences of religion on beliefs in society; application and testing of religious teachings or beliefs; religious roles in solving social problems; and historical aspects of religion.