Click here to download Proceedings of the 22nd Annual Meeting of Philosophy and Religion Society of Thailand
กำหนดการประชุมใหญ่ทางวิชาการครั้งที่ 22 ของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
กำหนดการประชุมใหญ่ทางวิชาการครั้งที่ 22 ของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
20-21 ธันวาคม 2561
อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดกำหนดการประชุม
Please click ้here to download the Program of the 22nd Annual Meeting of the Philosophy and Religion Society of Thailand
20-21 December 2018
Auditorium, Room 301, Mahachakri Sirindhorn Building, Faculty of Arts, Chulalongkorn University
The presentation schedule for papers accepted to PARST Annual Conference 2018
Please click here to download the presentation schedule for papers accepted to PARST Annual Conference 2018.
Call for Papers
The Philosophy and Religion Society of Thailand is organizing its annual conference at Faculty of Arts, Chulalongkorn University, on December 20-21, 2018. The theme of the meeting is “Death, Capital Punishment and Ethics.”
The Society is pleased to announce a call for papers for the conference. Papers can be in the theme of the conference, or in any topics in philosophy, religious studies, or related fields. All submitted papers will be peer-reviewed, and accepted papers will be announced one month after the deadline of submission.
Important Dates
- October 31 Last day of submission of papers for consideration
- November 15 Announcement of accepted papers
- December 20-21 Annual Meeting
Papers can be accepted in either Thai or English language. The length must be no more than 5 A4 pages inclusive of footnotes and references. The font is Times New Roman, 12 points. Please send your papers to Pagorn Sinsuriya at pagorn.sin@gmail.com.
Registration Fees: Non-members of the PARST, 800 Baht. Members, 700 Baht. Paper Presenters, 500 Baht. Fees are to be paid in cash on site only.
การสอบแข่งขันคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยไปร่วมแข่งขันโอลิมปิคปรัชญา ประจำปี พ.ศ. 2562
ประกาศสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
การสอบแข่งขันคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยไปร่วมแข่งขันโอลิมปิคปรัชญา ประจำปี พ.ศ. 2562
เนื่องจากสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนของประเทศไทยและเป็นสมาชิกของสหพันธ์ปรัชญานานาชาติ (FISP) และสหพันธ์ปรัชญานานาชาติได้จัดการแข่งขันโอลิมปิคปรัชญานานาชาติมาระยะหนึ่งแล้ว และเนื่องจากสมาคมฯมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการเรียนการสอนและการศึกษาปรัชญาในระดับโรงเรียนมัธยมในประเทศไทยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้มีมติจัดการแข่งขันโอลิมปิคปรัชญาในระดับชาติขึ้น เพื่อคัดเลือกตัวแทนไปร่วมแข่งขันโอลิมปิคปรัชญานานาชาติ ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในระหว่างวันที่ 16 ถึง 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 นี้
รายละเอียดการสอบแข่งขันโอลิมปิคปรัชญาระดับชาติ
- สมาคมมีสิทธิส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาไปร่วมแข่งขันโอลิมปิคปรัชญานานาชาติ 2คน ดังนั้นจะคัดเลือกผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 2 คนเป็นตัวแทนของประเทศไทย
- คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าแข่งขัน เป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศไทย หรือจบการศึกษาระดับมัธยมแล้วในขณะที่มาสอบ ในทุกกรณีต้องอายุไม่เกิน 20 ปี (เกิดไม่ก่อนปี พ.ศ. 2542)
- การแข่งขันจะจัดขึ้นในราวต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 โดยการสอบจะเป็นรูปแบบเดียวกันกับการแข่งขันโอลิมปิคนานาชาติ คือมีคำถามจำนวนหนึ่งมาให้เลือก และเขียนบทความเพื่อตอบและอภิปรายคำถามนั้น ใช้เวลาสี่ชั่วโมง การเขียนบทความต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น คณะกรรมการที่สมาคมปรัชญาฯจะแต่งตั้งขึ้นจะเป็นผู้ตรวจให้คะแนนนักเรียนที่เข้าสอบ โดยใช้รูปแบบเดียวกันกับการสอบโอลิมปิคนานาชาติ การแข่งขันจะประกาศผลออกมาเป็นชื่อนักเรียนที่ได้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปร่วมแข่งขันโอลิมปิคนานาชาติสองคน และสำรองอีกสองคน คำถามจะเน้นการคิดเชิงวิจารณ์และความเป็นตัวเองในการคิดมากกว่าการจำข้อมูลในปรัชญา และเน้นไปที่ความเข้าใจและการมีปฏิสัมพันธ์กับข้อความที่ยกมาอ้างในคำถามด้วย
- นักเรียนที่สนใจจะสมัครเข้าสอบแข่งขันกรุณาแจ้งความจำนงและกรอกใบสมัครส่งมาที่ อาจารย์ ดร. เทพทวี โชควศิน ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กทม. 10900 อีเมล์ dr.theptawee@yahoo.com โดยขอให้สแกนภาพใบสมัครและบัตรประชาชนส่งมาทางอีเมล์ ภายในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2562 ส่วนสถานที่สอบและวันเวลาจะประกาศให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง
- เนื่องจากในขณะนี้สมาคมฯยังไม่มีงบประมาณในการส่งนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกให้เดินทางไปร่วมการแข่งขันที่ประเทศอิตาลี นักเรียนที่ได้เข้าร่วมโอลิมปิคนานาชาติจึงต้องออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสถานที่แข่งขันเอง ส่วนค่ากินอยู่และค่าที่พักระหว่างแข่งขันทางผู้จัดจะเป็นผู้ออกให้
- คำตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกถือเป็นเด็ดขาด
ประกาศมา ณ วันที่ 10 เดือนกันยายน พ.ศ. 2561
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
(ศาสตราจารย์ ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์)
นายกสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
ดาวน์โหลดประกาศสมาคมแบบ pdf ได้ที่นี่
ข่าวนักเรียนไทยได้รับรางวัลชมเชยจากการแข่ง “ปรัชญาโอลิมปิกโลก”
ข่าวจาก Thai PBS
http://news.thaipbs.or.th/content/272496
นักเรียนไทยคนแรก คว้ารางวัลชมเชย จากการแข่งขันปรัชญาโอลิมปิกโลก 2018 ที่ประเทศมอนเตเนโกร นายกสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย เผยประเทศไทยยังไม่มีการสอนสาขานี้ การแข่งขันครั้งนี้เกิดจากการฝึกฝนและความพยายามของนักเรียน พร้อมชื่นชมความสำเร็จ
วันนี้ (30 พ.ค.2561) ศ.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนายกสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้นำ นายธีรเชษฐ์ โรจน์รัชสมบัติ นักเรียนชั้น ม. 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งสำเร็จการศึกษาแล้ว ไปร่วมแข่งขันรายการปรัชญาโอลิมปิกโลก หรือ International Philosophy Olympiad 2018 ร่วมกับนักเรียน 100 คน จากหลายประเทศทั่วโลก ที่เมืองบาร์ ประเทศมอนเตเนโกร ระหว่างวันที่ 23-27 พฤษภาคมที่ผ่านมา ผลปรากฏว่าสามารถคว้ารางวัล “Honorable Mention” รางวัลชมเชย อันดับที่ 14 จาก 20 มาได้
แม้จะไม่ใช่ 1 ใน 3 เหรียญรางวัล แต่ก็ขอชื่นชมนายธีรเชษฐ์ที่ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง เนื่องจากยังไม่มีการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษา เป็นการแข่งขันครั้งแรกร่วมกับนักเรียนต่างชาติ ที่ส่วนใหญ่เรียนปรัชญาอย่างเข้มข้นจากโรงเรียน
นายธีรเชษฐ์ โรจน์รัชสมบัติ หรือ น้องไดรฟ์ กล่าวว่า ดีใจที่ได้รางวัลนี้ แม้เป็นเพียงรางวัลชมเชย ก่อนหน้านี้ต้องเตรียมตัวประมาณ 1 ปี ด้วยการอ่าน ทำความเข้าใจ ฝึกเขียน โดยเฉพาะช่วง 1 เดือนครึ่ง ก่อนไปแข่งขัน เนื่องจากวิชาปรัชญาไม่มีการสอนในระดับชั้นที่ศึกษาอยู่
วิชาปรัชญาเป็นวิชาที่ถามสิ่งต่างๆ รอบตัว ถามความจริงว่าเป็นอย่างไร สิ่งที่เราเชื่ออยู่มีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด เป็นวิชาที่ฝึกให้คิดเอง ตั้งคำถามเอง รวมทั้งหาคำตอบเอง สามารถเสนอความคิดได้ แบบไร้ข้อจำกัด สร้างทฤษฎีของตัวเอง เพื่อเสนอสิ่งที่คิดว่าเป็นความจริง
ข่าวจาก Workpoint News
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “จริยธรรมกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ”
สมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย ร่วมกับ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “จริยธรรมกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ”
วันที่ 29-30 มิถุนายน 2561
ห้อง 301-302 อาคารมหาจักรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลักการและเหตุผล
ผลงานวิชาการถือเป็นภารกิจที่สำคัญในการสร้างสรรค์และเผยแพร่องค์ความรู้ของ นักวิชาการ นักวิจัย และคณาจารย์ในสาขาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลกรในสถาบันอุดมศึกษา การประกาศใช้เกณฑ์มาตรฐานการประเมินตำแหน่งทางวิชาการถือเป็นกรอบความเข้าใจที่นักวิชาการและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติร่วมกันเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งจะมีเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้การวิจัยรวมถึงการสร้างผลงานวิชาการอื่นๆ ยังจะต้องเดินตามกฎเกณฑ์จริยธรรมของการวิจัยด้วย เพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพของงานวิชาการและเพื่อปกป้องสิทธิของอาสาสมัครในการวิจัยตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ
ความเข้าใจจริยธรรมทางวิชาการที่ชัดเจน จะช่วยให้ปัญหาต่างๆในงานวิชาการบรรเทาลงหรือช่วยแก้ไขความเข้าใจผิด รวมไปจนถึงป้องกันข้อบกพร่องต่างๆที่จะเกิดขึ้นในการทำผลงานวิชาการ เช่น การลักลอก การจัดการข้อมูลวิจัย รวมไปถึงการทำวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์อย่างมีจริยธรรม เนื่องจากเกณฑ์มาตรฐานจริยธรรมทางวิชาการมีความสำคัญเช่นนี้ เกณฑ์เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ เช่นเกณฑ์ใหม่ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (กพอ.) จึงให้ความสำคัญแก่เรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงเป็นการสมควรที่จะมีการอบรมเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ
สมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย มองเห็นความสำคัญในการสร้างความรู้และความเข้าใจมิติทางจริยธรรมของงานวิชาการ และถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้รับความอนุเคราะห์จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ร่วมจัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “จริยธรรมกับการขอตำแหน่งวิชาการ” เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจด้านจริยธรรมวิชาการให้แก่คณาจารย์ และนักวิชาการที่สนใจ ในวันศุกร์ที่ 29 และ เสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2561 ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วัตถุประสงค์
- สร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับจริยธรรมทางวิชาการ แก่ผู้เข้าร่วมอบรม
- เป็นแนวทางและเสริมสร้างการทำผลงานวิชาการที่ถูกต้องและมีจริยธรรม
- สร้างความเข้าใจและชี้แนะแนวทางการเผยแพร่ผลงานวิชาการอย่างมีจริยธรรม
กำหนดการ
วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561
8.30 – 9.00 ลงทะเบียน
9.00 – 9.15 กล่าวเปิด โดยคณบดีคณะอักษรศาสตร์
9.15 – 10.30 “ปัญหาและความเข้าใจผิดที่พบบ่อยในจริยธรรมวิชาการ” / ศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
10.30 – 11.00 ชา/กาแฟ/ของว่าง
11.00 – 12.00 “ประเด็นทางจริยธรรมในการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ”/ ผศ. ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์
12.00 – 13.00 พักอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 ประชุมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ”/ ศ. ดร. ปรานี กุลละวณิชย์
14.30 – 15.00 ชา/กาแฟ/ของว่าง
15.00 – 16.30 อภิปรายเกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ/ ศ. ดร. ปรานี กุลละวณิชย์
วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561
9.00 – 10.15 ประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวกับการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ/ อ. นพ. กิตติศักดิ์ กลวิชิต
10.05-10.45 ชา/กาแฟ/ของว่าง
10.45-12.00 จริยธรรมของบรรณาธิการ: ประสบการณ์ในการเป็นบรรณาธิการวารสาร Manusya/ ศ. ดร. อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์
12.00 – 13.00 อาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 อภิปรายรวม “ปัญหาที่พบบ่อยในจริยธรรมวิชาการและการวิจัย: อภิปรายแนวทางแก้ไข” / ศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์, รศ. ดร. ปกรณ์ สิงห์สุริยา, อ. ดร. เทพทวี โชควศิน
14.30 – 15.00 ชา/กาแฟ/ของว่าง
15.00 – 16.30 อภิปรายต่อ
ค่าลงทะเบียน
สมาชิกสมาคมปรัชญาฯ 800 บาท บุคคลทั่วไป 1,000 บาท การจ่ายค่าลงทะเบียนกรุณาจ่ายเป็นเงินสดหน้าห้องประชุม ค่าลงทะเบียนประกอบด้วยการประชุมอบรมสองวัน ชา กาแฟ อาหารว่าง เอกสารประกอบการประชุม ส่วนอาหารกลางวันสามารถหาได้ที่โรงอาหารคณะอักษรศาสตร์ตามอัธยาศัย
กรุณาแจ้งความจำนงล่วงหน้าได้ที่ อ. เจิด บรรดาศักดิ์ jerdonly@gmail.com หรือไปที่ https://goo.gl/forms/FIQr9YubmlvETneL2 ภายในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561
ประกาศสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
ประกาศสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
ตามที่สมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทยได้จัดการสอบคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันปรัชญาโอลิมปิคนานาชาติ ประจำปี ค.ศ. 2018 ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ไปแล้วนั้น บัดนี้กรรมการสอบได้ตรวจคำตอบของผู้เข้าแข่งขันและประชุมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผลการสอบเป็นดังนี้
ผู้ได้รับคัดเลือกให้ไปร่วมแข่งขันโอลิมปิคปรัชญานานาชาติในปีนี้ ได้แก่
1. นายชวิน อัศวเสตกุล ผู้เข้าสอบหมายเลข 1
2. นายธีรเชษฐ์ โรจน์รัชสมบัติ ผู้เข้าสอบหมายเลข 13
นอกจากนี้ผู้สมัครรายชื่อต่อไปนี้ ได้คะแนนรองลงมา ซึ่งสมาคมจะเชิญให้ไปร่วมแข่งขันโอลิมปิคหากผู้สมัครรายใดรายหนึ่งข้างต้นไม่สามารถไปร่วมแข่งขันได้ ได้แก่
1. นายธนา สมศิริวัฒนา ผู้เข้าสอบหมายเลข 14
2. นายวชิรวิชญ์ อินแสง ผู้เข้าสอบหมายเลข 19
ทั้งนี้ขอให้ผู้สมัครที่ผ่านการสอบคัดเลือกสองรายชื่อแรกติดต่อกับสมาคมฯโดยเร็ว เพื่อประสานงานเรื่องวีซ่าและการสมัครเข้าร่วมโครงการโอลิมปิคปรัชญานานาชาติที่ประเทศมอนเตเนโกรอย่างเป็นทางการต่อไป
นอกจากนี้ สมาคมฯมีแผนการที่จะจัดพิธีมอบรางวัลเหรียญทองโอลิมปิคปรัชญาประเทศไทยแก่ผู้สมัครสองคนแรก และรางวัลเหรียญเงินแก่ผู้สมัครสองคนหลัง ซึ่งพิธีดังกล่าวจะประกาศให้ทราบต่อไป
ประกาศมา ณ วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
นายกสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
ประกาศสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
ประกาศสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
การสอบเพื่อคัดเลือกนักเรียนตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิคปรัชญาที่ประเทศมอนเตเนโกร จะจดขึ้นที่ห้อง 304 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเวลา 9.00 – 13.00 น. รวม 4 ชั่วโมง วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ลักษณะการสอบจะประกอบด้วยการให้นักเรียนเลือกโจทย์จากข้อต่างๆที่กำหนดให้มาหนึ่งโจทย์ โจทย์จะประกอบด้วยข้อเขียนของนักปรัชญายาวประมาณหนึ่งถึงห้าบรรทัด แล้วนักเรียนเขียนบทความเพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ข้อเขียนดังกล่าวอย่างเสรี ขอให้นักเรียนมาพร้อมกันอย่างน้อย 15 นาทีก่อนเริ่มสอบ
การสอบนักเรียนสามารถนำพจนานุกรมไทย-อังกฤษเป็นเล่มๆมาใช้ประกอบการเขียนได้ แต่ห้ามมิให้นำพจนานุกรมหรือสารานุกรมวิชาปรัชญาและโทรศัพท์มือถือเข้าห้องสอบ
สมาคมฯขอย้ำอีกครั้งว่า สมาคมฯยังไม่มีงบประมาณช่วยเหลือนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกให้เดินทางไปร่วมแข่งขันโอลิมปิคนานาชาติ นักเรียนที่ได้รับคัดเลือกและอาจารย์ผู้ติดตาม ต้องหาทุนส่วนตัวไปเอง ซึ่งประกอบด้วยค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายส่วนตัว ส่วนค่าที่พักทางผู้จัดจะเป็นฝ่ายออกให้
ขอให้นักเรียนทุกคนโชคดีในการสอบครั้งนี้
ประกาศมา ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
นายกสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
ประกาศ สมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
ประกาศ
สมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย
ตามที่สมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทยได้จัดการสอบแข่งขันคัดเลือกตัวแทนประเทศไทย ไปร่วมแข่งขันโอลิมปิคปรัชญานานาชาติที่ประเทศมอนเตเนโกร ในวันที่ 23-28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 นั้น บัดนี้การรับสมัครได้ปิดลงแล้ว มีนักเรียนมาสมัคร 19 คนดังรายชื่อต่อไปนี้
1. นายชวิน อัศวเสตกุล โรงเรียนบางกอกพัฒนา
2. นายจิรเมธ คิญชกวัฒน์ โรงเรียนกำเนิดวิทย์
3. นายกรภัทร์ พงษ์มาลา โรงเรียนกำเนิดวิทย์
4. นายกฤษดา ทวีศักดิ์ โรงเรียนกำเนิดวิทย์
5. นายคุณากร ลิมป์สภาพกสิผล โรงเรียนกำเนิดวิทย์
6. นางสาวมัชฌิมากร รอดสุทธิ โรงเรียนกำเนิดวิทย์
7. นายปณิธิ วนศิริกุล โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
8. นางสาวพลอยประกาย ภูศรี โรงเรียนกำเนิดวิทย์
9. นายภูมิรพี พิศุทธ์สินธุ์ โรงเรียนกำเนิดวิทย์
10. นาวสาวรมิตา ตุ่นหรัด โรงเรียนกำเนิดวิทย์
11. นายรวิน อัสสะบำรุงรัตน์ โรงเรียนกำเนิดวิทย์
12. นายศฐา กิติรัตน์ตระการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
13. นายธีรเชษฐ์ โรจน์รัชสมบัติ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
14. นายธนา สมศิริวัฒนา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
15. นายธนภัทร ทางรัตนสุวรรณ โรงเรียนมหิดลวิทยานุศรณ์
16. นายธนวัฒน์ ศรวณีย์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
17. นายธนิสร อุ่นปิติพงษา โรงเรียนกำเนิดวิทย์
18. นายธีรชัย แซ่ตั้ง โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
19. นายวชิรวิทย์ อินแสง โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
การสอบจะจัดขึ้นในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ที่ตึกมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่เวลา 9.00 ถึง 13.00 น. ส่วนรายละเอียดการสอบจะให้นักเรียนเลือกคำถามหนึ่งคำถามจากข้อสอบ และเขียนบทความเพื่อตอบคำถามนั้น ใช้เวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมง บทความให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ คำถามจะประกอบด้วยข้อเขียนสั้นๆประมาณไม่เกินห้าบรรทัดของนักปรัชญาที่คัดสรรมา และให้นักเรียนเขียนบทความเพื่ออธิบายและโต้ตอบกับข้อเขียนนั้น การตัดสินจะดูที่ความเข้าใจเนื้อหา การเรียบเรียงความคิด การอ้างเหตุผล และการใช้ภาษา
ตัวอย่างของบทความที่ได้รับรางวัลในการแข่งขันที่ผ่านๆมา ดูได้ที่ link ชื่อ Winners ในเว็บ http://www.philosophy-olympiad.org/
ตัวอย่างของคำแนะนำในการเขียนบทความปรัชญา ดูได้ที่ http://www.philosophy-olympiad.org/wp-content/uploads/2017/01/IPO_Essay_Guide.pdf
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
นายกสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย