วารสารสมาคมปรัชญา​และ​ศาสนา​แห่งประ​เทศไทย

ISSN 1905 – 4084
ปีที่​ 8 ฉบับ​ที่​ 2 กันยายน 2556

สารบัญ

บทความวิจัย

  1. ทฤษฎีแบบพันธสัญญากับปัญหาเรื่องความชอบธรรมปิยฤดี ไชยพร
    2. Power Necessity, Transfer Principles, and the Consequence Argument William Paul Demsar
    3. อินเตอร์เน็ตในฐานะสารสนเทศผ่านเทคโนโลยี เจิด บรรดาศักดิ์

บทคัดย่อ

 

ปิยฤดี ไชยพร. “ทฤษฎีแบบพันธสัญญากับปัญหาเรื่องความชอบธรรม”. วารสารสมาคมปรัชญา​และ​ศาสนา​แห่งประ​เทศไทย. 8, 2: 1-53.

ปรัชญาการเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยให้ความสำคัญกับแนวคิดเรื่องความชอบธรรม นักปรัชญาการเมืองสายนี้จำนวนมากรับแนวคิดเรื่องความชอบธรรมของทฤษฎีแบบพันธสัญญาที่กล่าวว่าสถาบันการเมือง หรือบรรทัดฐานทางจริยธรรมการเมืองจะถือว่ามีความชอบธรรมได้ต้องได้รับ การตกลงยินยอมอย่างเป็นเหตุเป็นผล จากบุคคลผู้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับของสถาบันหรือบรรทัดฐานเหล่านั้น แต่แนวคิดเรื่องนี้ยังคงมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถอธิบายเรื่องการตกลงยินยอมนี้ว่าต้องมีลักษณะเช่นใดได้อย่างครบถ้วนและเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถอธิบายปกป้องได้ บทความนี้สำรวจแนวคิดเรื่องความชอบธรรมแบบพันธสัญญารูปแบบหลักๆ และวิเคราะห์ให้เห็นว่าข้อเสนอในแนวคิดเหล่านี้เกี่ยวกับสิ่งที่จะนำมาใช้เป็นพื้นฐานเพื่อสร้างความชอบธรรมนั้นยังมีลักษณะที่ไม่สามารถอ้างได้ว่าจะนำไปสู่การตกลงยินยอมโดยคนทุกคนที่จะรับพื้นฐานนี้ไปใช้ร่วมกันได้จริง จากนั้นจึงเสนอแนวคิดเรื่องความชอบธรรมแบบพันธสัญญาที่ดัดแปลงจากความคิดเรื่อง การสามารถให้เหตุผลสนับสนุนแก่ผู้อื่นบนพื้นฐานที่ไม่มีผู้ใดสามารถปฏิเสธอย่างมีเหตุผลได้ ของโทมัส สแคนลอนที่สามารถให้คำอธิบายเรื่องนี้ได้อย่างน่าพอใจที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีแบบพันธสัญญาชนิดอื่น

The notion of legitimacy is given a prominent place in liberal democratic philosophy. Liberal philosophers of more than one streak accept the liberal-contractualist conception of legitimacy, according to which political institutions or ethical norms can be considered as legitimate if and only if they win rational agreement of the people who are to be significantly affected by their operation. The tricky part, however, is in defining what the term “rational agreement” exactly means. This article examines three distinctive interpretations i.e. the consent interpretation, the duty to fair play interpretation and the hypothetical interpretation. It is shown that all these interpretations are inadequate, even the Rawlsian hypothetical interpretation which seems to be the most defensible thus far. Finally, this article proposes an alternative interpretation of rational agreement that is an adaptation of the notion of “justifiability to others on grounds that no one can reasonably reject” from Thomas Scanlon’s moral theory and argues that there are solid reasons for thinking that this interpretation outperforms all its predecessors in explaining what constitutes the most defensible basis for wide rational agreement of the people.

William Paul Demsar. “Power Necessity, Transfer Principles, and the Consequence Argument”. วารสารสมาคมปรัชญา​และ​ศาสนา​แห่งประ​เทศไทย. 8, 2: 54-69.

การอ้างเหตุผลจากผลที่ตามมา (consequence argument) พยายามอนุมานบนพื้นฐานของนิยัตินิยม (determinism) ว่าเราไม่มีทางเลือกเกี่ยวกับอนาคต หลายรูปแบบของการอ้างเหตุผลประเภทนี้อาศัยสิ่งอันเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ได้แก่ หลักการถ่ายโอนความจำเป็น (Transfer of Necessity Principle หรือ TNP) หลักการดังกล่าวเห็นว่าสำหรับประพจน์ p และ q ที่จริงใดๆ ถ้าบุคคลไม่สามารถเลือกได้เกี่ยวกับ p และ q เป็นผลที่ตามมาจาก p ก็จะหมายความว่าบุคคลนั้นไม่มีทางเลือกเกี่ยวกับ q ในบทความเรื่องนี้ ผู้เขียนเสนอปัญหาทางสามแพร่ง (trilemma) โต้แย้งผู้สนับสนุนการอ้างเหตุผลจากผลที่ตามมา ผู้เขียนชี้ว่ามีวิธีตีความ TNP ได้สองวิธีกว้างๆ ได้แก่ ตีความเชิงญาณวิทยา (epistemic) และตีความที่ไม่ใช่เชิงญาณวิทยา (non-epistemic) ในส่วนที่หนึ่ง ผู้เขียนเสนอว่าการตีความ TNP แบบที่ไม่ใช่เชิงญาณวิทยาแสดงได้ว่ามีความสมเหตุสมผล แต่จะนำมาซึ่งการรวมกันเป็นกลุ่มก้อน (agglomeration) ซึ่งเป็นกฎที่ผิดอย่างไม่มีใครโต้แย้ง ในส่วนที่สองและสาม ผู้เขียนอภิปรายวิธีตีความ TNP ในเชิงญาณวิทยา ผู้เขียนเสนอว่าแม้การตีความ TNP ในเชิงญาณวิทยาจะไม่นำมาซื่งกฎการรวมกันเป็นกลุ่มก้อน แต่การตีความวิธีนี้ไม่สมเหตุสมผล ในส่วนที่สี่ ผู้เขียนอภิปรายทางออกที่เป็นไปได้ของปัญหาทางสามแพร่งดังกล่าว โดยเสนอว่าแม้ทางออกนี้จะสำเร็จได้ แต่ก็จะทำให้การอ้างเหตุผลมีความบกพร่องเชิงวิภาษวิธี แม้ว่าผู้เขียนจะเน้นวิเคราะห์เฉพาะรูปแบบ Beta 2 ของ TNP แต่ผู้เขียนหวังว่าสามารถชี้ให้เห็นได้ว่าปัญหานี้สามารถนำไปใช้กับรูปแบบอื่นๆ ของ TNP ได้

The consequence argument attempts to infer from the truth of determinism that we have no choice about the future. Many versions of the argument utilize the controversial “Transfer of Necessity” principle (TNP hereafter). The principle says that, for any true propositions p and q, if someone has no choice about p and q is a consequence of p, then they have no choice about q. In this paper I present a trilemma for proponents of the consequence argument. I identify two broad interpretations of TNP, epistemic and non-epistemic. In section 1 I argue that non-epistemic interpretations of TNP are demonstrably valid, but entail Agglomeration, a rule that is uncontroversially false. In sections 2 and 3 I discuss epistemic interpretations of TNP. I argue that although non-epistemic interpretations of TNP do not entail Agglomeration, they are invalid. In section 4 I discuss a possible way out of the above dilemma and argue that it can only succeed at the cost of making the argument dialectically deficient. Although to make my point, I focus on a particular version of TNP, Beta 2, I hope to show that the problem is systematic and generalizes to other TNP rules.

เจิด บรรดาศักดิ์. ” อินเตอร์เน็ตในฐานะสารสนเทศผ่านเทคโนโลยี”. วารสารสมาคมปรัชญา​และ​ศาสนา​แห่งประ​เทศไทย. 8, 2: 69-88.

อัลเบิร์ต บอร์กแมนน์เสนอว่าสารสนเทศสามารถแบ่งออกเป็นสามประเภทตามความสัมพันธ์กับความเป็นจริงและสารสนเทศดิจิทัลดูเหมือนมีสถานะห่างจากความเป็นจริงมากกว่าสารสนเทศประเภทอื่นเนื่องจากเป็นสารสนเทศที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวกลาง ผู้เขียนเห็นว่าสารสนเทศดิจิทัลไม่ได้มีความสัมพันธ์กับความเป็นจริงแตกต่างจากสารสนเทศที่บอร์กแมนน์เรียกว่า สารสนเทศวัฒนธรรมหรือสารสนเทศแอนะล็อก เนื่องจากสารสนเทศแอนะล็อกสามารถนับได้ว่าเป็นสารสนเทศผ่านเทคโนโลยีเช่นกัน และข้อเสนออีกประการหนึ่งของผู้เขียนก็คือ สารสนเทศดิจิทัลมีข้อได้เปรียบมากกว่าสารสนเทศแอนะล็อก คือการเข้าถึงข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลนี้ช่วยให้การสื่อสารติดต่อระหว่างกันแพร่กระจายได้มากขึ้น ดังนั้นอินเตอร์เน็ทจึงเป็นเพียงช่องทางการสื่อสารสารสนเทศประเภทหนึ่ง ไม่ใช่สารสนเทศที่มีระยะห่างจากความเป็นจริง

Albert Borgmann proposes that information can be categorized into three types based on its relationship to reality. Much more than other types of information, digital information is at further distance from reality due to its being technologically mediated. In this paper, I argue that digital information does not bear a type of relationship with reality that is different from what Borgmann calls “cultural information” or “analog information.” That is because the latter can be considered to be technologically mediated. I also argue that digital information has an advantage over analog information, that is, its accessibility that allows more widespread communication. Therefore, the Internet is only a channel of communication, not information at a far remove from reality.